909 จำนวนผู้เข้าชม |
ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) สารสำคัญ น้ำมันหอมระเหยและสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminiods)สารสีเหลืองส้ม โดยตามข้อกำหนดตำรามาตรฐานยา ระบุว่าขมิ้นชันที่ดีต้องมีสารเคอร์คูมินอยด์ (curcuminiods) ไม่น้อยกว่า 5% (w/w)และน้ำมันหอมระเหยไม่น้อยกว่า 6% (v/w) หรือเมื่อเราดูด้วยตาเปล่าขมิ้นชันที่ดีควรมีสีเข้ม ยิ่งส้มเข้มจนเกือบแดงแสดงว่ายิ่งมีสารสำคัญมาก
น้ำมันหอมระเหยและสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminiods) สารสีเหลืองส้ม ซึ่งประกอบด้วย สารเคอร์คูมิน (curcumin) หนึ่งในสารออกฤทธิ์สำคัญของขมิ้น ถือว่าเป็นกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ และน้ำมันหอมระเหยที่มีสารสำคัญอย่าง เซสควิเทอร์พีน (Sesquiterpenes) ที่ประกอบไปด้วย อา-เทอร์เมอโรน (ar-turmerone), แอลฟา-เทอร์เมอโรน (alpha-turmerone) และเบต้า-เทอร์เมอโรน (beta-turmerone) ที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจนสามารถส่งผ่านเข้ากระแสเลือด และสมอง อีกทั้งยังช่วยส่งออกซิเจนไปล่อเลี้ยงสมอง
ขมิ้นชันมีคุณสมบัติมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อไวรัส คุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ต้านเชื้อมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระ ฆ่าเชื้อไวรัส ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันตับจากสารพิษ ป้องกันโรคไต ป้องกันรังสี หรือช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการได้รับรังสี และมีการศึกษาถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ ขมิ้นชันในการบรรเทาอาการโรคในระบบทางเดินอาหารที่น่าใจหลายการศึกษา อย่าง ฤทธิ์ขับลม บรรเทา อาการท้องอืดท้องเฟ้อ กรดไหลย้อน โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการอาหารไม่ย่อย (dyspepsia) พบว่า การรับประทานขมิ้น ครั้งละ 500 มก. (มีเคอร์คูมินอยด์ 9.6% และน้ำมันหอมระเหย 8%) วันละ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน สามารถบรรเทาอาการของโรคอาหารไม่ย่อย ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ลดอาการคลื่นไส้และไม่สบายท้อง, ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำดี ซึ่งขมิ้นชันมีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร เป็นผลให้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อลดลง นอกจากจะช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อแล้ว ขมิ้นชันยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยผ่านกลไกกระตุ้นการหลั่งเมือกหรือมิวซิน (mucin) มาเคลือบกระเพาะ ยับยั้งการหลั่งกรดและน้ำย่อยของกระเพาะ และต้านการอักเสบ เมื่อให้ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รับประทานขมิ้น 600 และ 1,000 มก./วัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร, ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) ที่รับประทานสารสกัดจากขมิ้น (turmeric extract) ครั้งละ 1-2 เม็ด ติดต่อกัน 8 สัปดาห์ เนื่องจากสารเคอร์คูมินมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องและไม่สบายท้องของผู้ป่วยลดลง
ในผลิตภัณฑ์สารสกัดจากขมิ้น ผสมน้ำมันรำข้าว ของTHP ในหนึ่งกล่องประกอบไปด้วย
สารสกัดจากขมิ้น 52.63 มิลลิกรัม (curcumin> 95.0%)
น้ำมันรำข้าว 100 มิลลิกรัม
แกมมาโอริซานอล(100%) 50 มิลลิกรัม
จะเห็นได้ว่าในสารสกัดจากขมิ้น 52.63 มิลลิกรัมนี้ ให้สารสำคัญที่จำเป็นอย่าง สารเคอร์คูมิน (curcumin) ที่ไม่มีการเจือปน และเจือจางสูงขึ้นมากขึ้น 95% แถมยังมีน้ำมันน้ำมันรำข้าว และแกมมาโอริซานอลที่เข้าไปช่วยเสริมให้สารเคอร์คูมิน (curcumin) มีการออกฤทธิ์และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น