781 จำนวนผู้เข้าชม |
ในทุกวันนี้ชีวิตประจำวันของเราส่วนใหญ่มักอยู่กับหน้าจอคอม หน้าจอโทรศัพท์ แท็บแลต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ดวงตาจะได้รับแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์เหล่านี้ไปด้วย ซึ่งเจ้าแสงสีฟ้านี่แหละที่เป็นภัยเงียบที่เข้ามามีผลต่อดวงตาเราโดยตรง 3 ภาวะเสี่ยงที่เกิดจากแสงสีฟ้าได้แก่
1. ภาวะตาล้า (Digital Eye Strain) มีอาการล้า คัน เคือง ปวด แสบตา มองภาพไม่ชัด ภาพซ้อน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา น้ำตาไหล ตาแห้ง ดวงตาไวต่อแสงมากขึ้น
2. ภาวะเซลล์ประสาทตาตาย เมื่อดวงตาได้รับแสงสีฟ้า จะส่งผลให้เซลล์ดวงตาเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ค่าสายตาผิดปกติเร็วขึ้น เนื่องจากคลื่นแสงพลังงานสูงเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (Free Radical) ในเซลล์ของจอประสาทตา
3. จอประสาทตาเสื่อม สารเคมีช่วยการมองเห็นในจอตาที่เรียกว่าเรตินอล (Retinal) ทำปฏิกิริยากับแสงสีฟ้า ทำให้เกิดโมเลกุลมีพิษทำลายเยื่อหุ้มเซลล์รับแสงจนเซลล์ตายลง ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรเพราะจอตาไม่สามารถส่งสัญญาณสื่อประสาทไปยังสมองได้
4. โรคตาแห้ง (Dry Eye) ทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง หรือแสบตา ในบางรายอาจพบอาการตาแดงร่วมด้วย อาการเหล่านี้มักพบในกลุ่มคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ และอยู่ในห้องปรับอากาศตลอดเวลา คนที่ผ่าตัดหรือทำเลเซอร์ตา และหากปล่อยให้ตาแห้งเป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้เกิดภาวะตาอักเสบ และเสี่ยงต่อภาวะดวงตาติดเชื้อ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการมองเห็นต่อไปในอนาคต
5. โรคต้อกระจก (Cataract) มีอาการเห็นภาพมัว มีฝ้าขาว ซึ่งแต่ละคนจะมีระดับความรุนแรงของอาการไม่เหมือนกัน
วิธีการดูแลดวงตาจากแสงสีฟ้า ได้แก่
1. ลดความสว่างของหน้าจออุปกรณ์ต่าง ๆ
2. ติดฟิล์มที่หน้าจออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยกรองแสงสีฟ้า
3. พักสายตาทุก ๆ 30 นาที โดยหลับตาพักประมาณ 1 นาที มองไปไกลออกไป 30 วินาที และหาผ้าชุปน้ำอุ่น ๆ ประคบไว้ที่ดวงตาประมาณ 1-2 นาที
4. สวมแว่นกรองรังสีจากหน้าจออุปกรณ์ต่าง ๆ
5. กระพริบตา 1-2 ครั้งต่อ 10 วินาที
6. หาวิตามินเสริมเพื่อดูแลดวงตา ด้วยสารสกัดจากบิลเบอร์รี่ พร้อมเสริมการทำงานของดวงตาด้วยลูทีน
บิลเบอร์รี่ (Bilberry) เป็นผลไม้สีน้ำเงินม่วง ตระกูลเดียวกับเบอร์รีทั้งหลาย และมีนักวิจัย ไมเคิล ที เมอร์เรย์ (Michael T. Murray) ได้กล่าวว่าสาร แอนโธไซยาโนไซด์ (Anthocyanosides)สารสีน้ำเงินหรือม่วงที่พบมากในบิลเบอร์รี มีคุณสมบัติสำคัญคือสารต้านอนุมูลอิสระที่มีบทบาทต่อดวงตา มีผลต่อเซลล์เยื่อบุผิวเรตินาในการมองเห็น และลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก และป้องกันจอประสาทตาเสื่อม อีกทั้งยังช่วยสร้างความแข็งแรงของคอลลาเจนในเส้นเลือดฝอยที่ตาและเชื่อมต่อเนื้อเยื่อดีขึ้น ลดอาการตาแห้ง ตาล้า และมีส่วนช่วยบรรเทาอาการตาบอดกลางคืน ทำให้การมองเห็นในที่สลัวดีขึ้น ควบคุมการทำงานของเรตินาจอรับแสงป้องกันโรคตาบอดแสง และการมองไม่เห็นในตอนกลางวัน
ลูทีน (Lutein) เป็นสารอาหารในกลุ่มที่เรียกว่าแซนโทฟิลส์ (xanthophylls) มีลักษณะเป็นสารสีเหลือง อยู่ในจำพวกแคโรทีนอยด์ (carotenoids) เป็นสารอาหารที่ช่วยชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา ภายในจอประสาทตาจะมีร่องเล็ก ๆ ที่มีเซลล์คอยรับภาพจากจอประสาทตา เป็นจุดที่แสงตกกระทบ และทำให้สามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนในแต่ละวันได้ ซึ่งบริเวณนี้จะพบลูทีนอยู่จำนวนมาก โดยจะพบได้ตรงชั้นเนื้อเยื่อที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาท ซึ่งจุดที่สำคัญต่อการมองเห็นเป้นอย่างมาก หากบริเวณดังกล่าวเสื่อม หรือสูญเสียหน้าที่ จะทำให้สูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดได้
โดยลูทีน จะทำหน้าที่สำคัญในการกรองแสงสี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในดวงตา อีกทั้งยังเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องจอประสาทตา โดยลูทีนจะทำงานร่วมกับกรดไขมันดีเอชเอ และเอเอ ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านการมองเห็นของเด็กอีกด้วย